SME ยุทธวิธีเศรษฐีใหม่ – แบรนด์ดีต้องมี DNA ชัด

สิ่งที่จะทำให้แบรนด์ไทยไปได้ยาว ๆ ในตลาดต่างประเทศก็คือ อัตลักษณ์ที่ชัดเจน” เป็นความสำคัญของ “DNA” หรือ อัตลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งผู้ประกอบการไทยที่คิดจะยกระดับตลาดการค้า ในประเทศไปสู่ตลาดต่างประเทศจำเป็นจะต้องพิจารณา ที่วันนี้คอลัมน์นี้มีกรณีศึกษาของผู้ประกอบการซึ่งมีจุดเด่นในเรื่องนี้นำมาให้พิจารณากัน ทั้งนี้เกี่ยวกับกรณีศึกษาวันนี้ เป็น “ตัวอย่างผู้ประกอบการ” ที่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจาก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ซึ่งจัดกิจกรรม บ่มเพาะแบรนด์ไทย (IDEA LAB) มาต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 5 แล้ว ภายใต้แนวคิด Local Brand Building for Global Market โดยได้คัดเลือกผู้ประกอบการที่สมัครเข้ามากว่า 146 ราย จนเหลือแค่เพียง 15 แบรนด์ ใน 3 กลุ่มสินค้า ที่มีทั้งผู้ประกอบการขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ เพื่อช่วยพัฒนากลยุทธ์การสร้างแบรนด์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการสร้างคุณค่าแบรนด์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และสามารถขยายมูลค่าการค้าระหว่างประเทศได้ในอนาคต โดย 3 ใน 15 รายนั้น มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจ…คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เริ่มจาก ภัทรภร ศุภศรี เจ้าของแบรนด์ Pattaraporn ผู้ผลิตและจำหน่ายเม็ดมะม่วงหิมพานต์คาราเมล ที่เล่าว่า จุดเด่นของสินค้าคือการเลือกใช้วัตถุดิบ โดยเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ใช้มาจาก จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีแร่ธาตุเหมาะสมกับการปลูก ทำให้ได้เม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่หวานตามธรรมชาติ เมื่อนำมาคั่วตามสูตรลับของแบรนด์ที่เป็นมรดกทางภูมิปัญญาซึ่งได้รับสืบทอดมาจึงได้รสชาติและคุณภาพที่แตกต่างไปจากสินค้าชนิดเดียวกันในตลาด ที่สำคัญกรรมวิธีตามสูตรลับที่ใช้นี้ เป็นการคั่วที่ไม่ใช้น้ำมันเลย ทำให้ไม่มีคอเลสเตอรอลและไขมันทรานส์ จึงได้ให้นิยามสินค้าว่า Authentic Thai Homemade เพื่อใช้สื่อสารกับกลุ่มลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าโดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ เห็นอัตลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เม็ดมะม่วงหิมพานต์จากไทยให้ชัดเจนยิ่งขึ้นด้วย

ด้าน สรกิจ มั่นบุปผชาติ เจ้าของแบรนด์ PASHA (ปาศะ) ผู้ส่งออกเครื่องใช้เซรามิก สำหรับธุรกิจโรงแรม เล่าว่า ที่ผ่านมาเน้นผลิตให้กับกลุ่มธุรกิจเป็นหลัก แบรนด์จึงเป็นที่รู้จักในวงจำกัด จนกลับมานั่งวิเคราะห์ก็พบว่าสินค้าที่ผลิตให้ลูกค้านั้น ไม่สมควรระบุแบรนด์ของตัวเองเข้าไป จึงตัดสินใจเริ่มสร้างความเข้มแข็งให้แบรนด์ของตัวเองมากขึ้น โดยเริ่มจากนำเสนอแนวคิด Refill เพื่อทดแทนขวดที่ใช้แล้วทิ้ง โดยเริ่มกับบรรจุภัณฑ์ห้องน้ำในโรงแรมที่เติมสบู่กับแชมพูได้ โดยไม่ต้องทิ้งบรรจุภัณฑ์ จนเป็นผู้ส่งออกของไทยรายแรก ๆ ที่ขายแนวคิดเรื่องนี้ จนปัจจุบันโรงแรมต่าง ๆ ยอมรับแนวคิดเรื่องนี้ ส่วนด้านการผลิตได้คิดค้นกระบวนการเผาเซรามิกให้เหลือ 2 ขั้นตอนจากปกติที่ต้องทำ 3 ขั้นตอน ทำให้ลดการใช้พลังงานในการเผาให้กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามแนวทางของแนวคิด BCG (Bio-Circular-Green) ที่กำลังเป็นเทรนด์สำคัญของตลาดโลก จนตลาดต่างประเทศมองเห็นเอกลักษณ์ของแบรนด์ที่แตกต่างไปจากแบรนด์สินค้าเซรามิกเจ้าอื่น ๆ

ขณะที่แบรนด์สุดท้ายเป็นกรณีศึกษาจากแบรนด์ SIRITHAI (สิริไท) ของอดีตนักแสดงชื่อดัง อย่าง เชอรี่-เข็มอัปสร สิริสุขะ ที่วางตำแหน่งธุรกิจของตนเองเป็น Social Enterprise เล่าว่า หลังจากสร้างแบรนด์มาปีกว่า ก็เริ่มมองถึงอนาคตที่ต้องการขยายตลาดและผลักดันให้แบรนด์เดินหน้าต่อไปได้ จึงได้เริ่มสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า ภายใต้แกนคิดหลักคือการทำธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน ซึ่งตอนแรกก็มองว่าแนวคิดที่จะทำให้เรื่องนี้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมคงทำได้ยากมาก ๆ แต่ก็พอดีกับที่เทรนด์ของโลกเปลี่ยนแปลงไป โดยคนรุ่นใหม่และคนยุคปัจจุบันได้หันมาให้ความสำคัญและใส่ใจกับแบรนด์หรือสินค้าที่ยั่งยืนมากขึ้น ทำให้แบรนด์ของเธอจึงตอบโจทย์กับกระแสของโลกตอนนี้ และยิ่งทำให้ DNA ของแบรนด์สะท้อนออกมาเด่นชัดมากขึ้น จนกลายเป็นคีย์เวิร์ดสำคัญที่ช่วยทำให้แบรนด์ของเธอเติบโตขึ้น อดีตดาราชื่อดังระบุ และนี่ก็เป็นตัวอย่างน่าสนใจ ที่ผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีอื่น ๆ สามารถใช้เป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของการสร้าง DNA หรืออัตลักษณ์ให้กับสินค้า รวมไปถึงปรับใช้เป็นแนวทางให้กับการสร้างแบรนด์ของตนเองได้คำพูดจาก เว็บปั่นสล็อต. ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ [email protected]

You May Also Like

More From Author