ในแต่ละวัน เราสร้างขยะขึ้นมาเป็นจำนวนมหาศาล ทั้งขยะจากของกินที่เหลือทิ้ง ขยะพลาสติก ซึ่งหากไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม ก็จะก่อมลพิษ และสร้างผลเสียต่อทั้งตัวเราและโลก โดยเฉพาะ “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” (E-waste) เป็นประเภทที่อันตรายเป็นพิเศษ เพราะมันมีสารที่เป็นอันตรายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น สารหนู สารตะกั่ว หรือแคดเมียม ที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย และยิ่งถ้าปนเปื้อนลงไปในแหล่งน้ำก็จะยิ่งอันตรายมากขึ้นไปอีก
ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เคยกล่าวไว้ว่า “ขยะจะเป็นขยะก็ต่อเมื่อเราเรียกมันว่าขยะ” ซึ่งคำกล่าวนี้ไม่เกินจริงเลย เพราะถึงแม้ว่าโลกของเราจะไม่มีรถบินได้ที่ใช้พลังงานจากขยะอย่างในภาพยนต์เรื่อง Back to the Future แต่ในชีวิตจริงกลับมีคนที่มองเห็นประโยชน์จากการนำขยะกลับมาใช้เหมือนกัน ไม่เว้นแม้แต่ขยะที่จัดการยากและอันตรายอย่างขยะอิเล็กทรอนิกส์
ตัวอย่างเช่นชาวไนจีเรียที่ชื่อ โดซี อิกไวโล ซึ่งนำขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิลใหม่อีกครั้งจนกลายเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ชื่อ “QuadLoop” โดยการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น แบตเตอรี่โน้ตบุ๊ก หรือถ่านที่ใช้แล้ว มารีไซเคิลเป็น “โคมไฟแสงอาทิตย์”
อิกไวโลกล่าวว่า การทำแบบนี้ช่วยลดต้นทุนการผลิต และเป็นการส่งเสริมการขาย เพราะมีจุดขายที่น่าสนใจคือทำมาจากขยะอิเล็กทรอนิกส์นอกจากนี้ มันยังเป็นประโยชน์อย่างมากในช่วงที่เกิดการณ์เหตุไฟดับ เพราะผลิตภัณฑ์ของเขาใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ และเขาขายมันในราคาเพียง 32 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1,120 บาท) เท่านั้น
ด้านเสียงตอบรับจากลูกค้าของเขาเองก็เป็นไปในทางบวก โดยช่างทำผมรายหนึ่งบอกว่า โคมไปจากขยะอิเล็กทรอนิกส์นี้ใช้งานได้ดี และเธอเองก็ยังหมดกังวลกับปัญหาเรื่องการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปอีกคำพูดจาก PG SLOT สล็อตเว็บตรง
ว่อนเน็ต! ขยะเกลื่อนทางรถไฟใจกลางเมือง ชาวบ้านวอนเร่งแก้ไข
นักวิจัยญี่ปุ่นเจ๋ง! พัฒนา “พลาสติกซ่อมตัวเองได้” ลดการสร้างขยะ
ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ "เจอขยะ" สะสมนับร้อยกิโลกรัม จากนักท่องเที่ยว
ไม่เพียงแต่ธุรกิจเล็ก ๆ เพราะแม้แต่แบรนด์เสื้อผ้าชั้นนำจากอังกฤษ ที่โดดเด่นในเรื่องการผลิตเสื้อผ้าแห่งอนาคต อย่าง Vollebak ก็มีผลิตภัณฑ์ที่รีไซเคิลจากขยะอิเล็กทรอนิกศ์เช่นกัน นั่นคือ “Garbage Watch”
นาฬิกาดังกล่าวถูกออกแบบและรีไซเคิลจากวัสดุเหลือใช้อย่าง สายไฟในโทรทัศน์ ไมโครชิป เมนบอร์ดคอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนฟันเฟืองต่าง ๆ มาผสมผสานกันอย่างลงตัวจนกลายเป็นนาฬิการีไซเคิลที่มีสีสันสวยงาม ทั้งตัวเรือนและตัวสายเป็นวัสดุจากการรีไซเคิลทั้งหมด
โดย Vollebak กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ถูกผลิตขึ้นมาด้วยขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งเรือน จากกระบวนการรีไซเคิลผสมผสานกับอัปไซเคิล (การรีไซเคิลแบบอัปเกรดและยกระดับผลิตภัณฑ์)
นอกจากการนำ E-waste หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์มารีไซเคิลเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ แล้ว ยังมีแนวทางในการนำมาประยุกต์เป็นชิ้นงานศิลปะได้อีกด้วย อย่างเช่น เครื่องประดับจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ ของเล่น กระถางต้นไม้หรือแม้แต่ตู้ปลา และอื่น ๆ อีกมากมาย
เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างสร้างสรรค์ และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับขยะได้อย่างไม่น่าเชื่อ และคาดว่าในยุคสมัยปัจจุบันที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับการจัดการขยะมากขึ้น ไม่ใช่แค่ขยะอิเล็กทรอนิกส์ ก็เป็นไปได้ว่า ในอนาคตเราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ทำจากขยะอีกเป็นจำนวนมาก
เรียบเรียงจาก Euro News / Reuters / Inhabitat / India Times
ภาพจาก Quadloop / Vollebak